วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน

แนบหนังสือ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว390 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2552
ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ
             1. ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน                4,650.- บาท
             2. ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน       3,200.- บาท
             3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,900.- บาท
             4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)3,900.- บาท
                  หรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน
              5. ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน                      11,000.- บาท
เงินบำรุงการศึกษา หมายถึง เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ไดรับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถินที่มีกฎหมายจัดตั้งหรือองค์การของรัฐบาล
โดยระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เงินบำรุงการศึกษาที่ให้เบิกจ่ายตามประเภทและอัตราข้างต้น ประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังต่อไปนี้
              1. ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้
              2. ห้องเรียนพิเศษ EP(English Program)
              3. ห้องเรียนพิเศษ MEP(Mini English Program)
              4. ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ
              5. ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ
              6. ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ
สำหรับระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า เงินบำรุงการศึกษา ที่ให้เบิกจ่ายจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ ทั้งนี้ไม่รวมค่าปรับต่าง ๆ ค่าลงทะเบียนล่าช้าการลงทะเบียนเรียนซ้ำเพื่อปรับผลการเรียน(รีเกรด) ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด และค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา

การขออนุญาตรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณารื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นราชพัสดุ
ต้องได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์(กรณีที่ราชพัสดุอยู่ในกรุงเทพมหานคร)  และผู้ว่าราชการจังหวัด(กรณีที่ราชพัสดุอยู่ในจังหวัดอื่น) ก่อนการรื้อถอน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ สามารถรื้อถอนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก
                  กรมธนารักษ์/ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เมื่อรื้อถอนแล้วต้องแจ้งให้กรมธนารักษ์/ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
                    1.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 25 ปี
                    2.อาคารหรือส่งปลูกสร้างที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้
                    3.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวกับราชการลับทางทหาร
                    4.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเดิม เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ทดแทนตามที่ได้รับงบประมาณ
สำหรับวัสดุที่ได้จากการรื้อถอน ให้นำออกประมูลขายโดยอนุโลมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ.2535  แล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคลับงเป็นรายได้ของกรมธนารักษ์  หากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างอื่น  ต้องขออนุญาตต่อกรมธนารักษ์ ก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นให้ทราบเพื่อประกอบการพิจารณา และต้องไม่นำวัสดุที่ได้จาก การรื้อถอนไปสมทบกับกับงบประมาณที่ได้รับเป็นค่าก่อสร้างอาคารใหม่ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้ว
ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการ
แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน
                   ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต
1. บันทึกขออนุญาตรื้อถอน โดยแนบราย่ละเอียดประกอบการพิจารณา ดังนี้
     1.1 เหตุผลประกอบการรื้อถอน รวมทั้งประวัติอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เช่น ก่อสร้างเมื่อใด,สภาพอาคารปัจจุบันเป็นอย่างไร วัสดุที่ได้ จากการรื้อถอนจะเอาไปใช้ประโยชน์ หรือประมูลขาย เป็นต้น
     1.2  ภาพถ่ายอาคาร/สิ่งปลูกสร้างที่ขอรื้อถอน
     1.3  แผนที่สังเขป
     1.4  แบบรายการ ส่ง-รับ ที่ราชพัสดุขึ้นทะเบียน (แบบ ทบ.9) ยกเลิก โดยเปลี่ยนไปใช้แบบสำรวจรายการอาคารสิ่งปลูกสร้าง
              ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ แบบ ทร.04 ในกรณีที่อาคารดังกล่าวยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และใช้แบบ ทร.01/2 ในกรณีที่อาคารดังกล่าว ขึ้นทะเบียนแล้ว โดยติดต่อขอสำเนาได้ที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่
      1.5 แบบรายการแจ้งขอรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ(แบบ ทบ.3)  ผู้ลงนามในแบบ ทบ.3 จะต้องเป็น
            ผู้อำนวยการกอง,ผู้อำนวยการสำนักหรือผู้รักษาการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้
      1.6  แต่งตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อตรวจนับวัสดุและควบคุมการรื้อถอน
2.  บันทึกส่งเรื่องเสนอความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ การรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
     1.พิจารณาให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ การรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
     2. ส่งกองกฏหมายและที่ดิน เพื่อขออนุมัติกรมฯ รื้อถอน
                       ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน
1. เมื่อกรมธนารักษ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติการรื้อถอนแล้ว ให้โครงการฯ ดำเนินการรื้อถอน โดย
        1.1 ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตรวจนับและควบคุมการใช้วัสดุที่รื้อถอน
        1.2 ให้จัดทำบัญชีคุมยอดวัสดุที่รื้อถอนว่ามีจำนวนเท่าใดโดยแยกบัญชีวัสดุที่ใช้การได้ และใช้การไม่ได้ออกจากกัน
        1.3 วัสดุคงเหลือจากการใช้ประโยชน์ให้นำออกประมูลขายนำเงินส่งคลังเป็นรายได้กรมธนารักษ์
        1.4 ในรายงานบัญชีคุมยอดวัสดุ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ลงนามกำกับทุกแผ่น
        1.5 ให้จัดทำแบบรายการแจ้งการรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ (แบบ ทบ.2)  ซึ่งเป็นเอกสารใช้ประกอบการขอจำหน่าย
               สิ่งปลูกสร้างออกจากทะเบียนอาคารราชพัสดุ(ต้องระบุวันที่รื้อถอนแล้วเสร็จด้วย)
2.  สรุปรายละเอียด พร้อมบันทึกคณะกรรมการตรวจนับวัสดุที่รื้อถอน เสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
        1. ร่างหนังสือถึง กรมธนารักษ์ หรือผู้ราชการจังหวัด แจ้งการรื้อถอน ขออนุญาตนำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ประโยชน์ แจ้งการประมูลขายวัสดุ แจ้งขึ้นทะเบียนอาคาร จำหน่ายออกจากทะเบียนราชพัสดุ(แล้วแต่กรณี) เสนอ เพื่อลงนาม
       2. ส่งเรื่องแจ้งสถานศึกษา เพื่อขึ้นทะเบียน จำหน่ายออกจากทะเบียนแล้วแต่กรณี

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
2.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
3.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549