วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขอตัดฟันต้นไม้ในที่ราชพัสดุ

ขณะนี้โรงเรียนในสังกัด ตัดต้นไม้โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบทำให้เกิดการร้องเรียน ถูกมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหลายโรงเรียน เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง จึงขอส่งหลักเกณฑ์การตัดฟันต้นไม้ในที่ราชพัสดุเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ดังนี้ ขั้นตอนการขอตัดฟันต้นไม้ในที่ราชพัสดุ 1. ขออำนาจหรือขออนุญาตจากต้นสังกัด กระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้มีอำนาจดำเนินการในการขอดำเนินการใด ๆ ในที่ราชพัสดุ ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 63/2546 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการขอใช้ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2546 มอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา 2. ให้ดำเนินการตามเงื่อนไขการนำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ประโยชน์ (รายละเอียดเช่นเดียวกับการขอรื้อถอน/จำหน่วยอาคาร) 3. แจ้งหนังสือ เรียน ธนารักษ์พื้นที่ ฯ เรื่อง การขอตัดฟันต้นไม้ในที่ราชพัสดุและขอนำไปใช้ประโยชน์ราชการ เอกสารที่ต้องส่งให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 3.1 สำเนาหนังสือมอบอำนาจหรือขออนุญาน(ตามข้อ 1.) 1 ฉบับ 3.2 กรอกแบบรายการแจ้งขอรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ (แบบ ทบ.3) ตัวอย่างแบบ ทบ.3 เช่นเดียวกับ ขอรื้อถอน/จำหน่าย 3.3 แผนที่สังเขปแสดงบริเวณสถานที่ตัดต้นไม้ 3.4 บัญชีแสดงรายละเอียดประกอบการขออนุญาตตัดต้นไม้ (แบบ จฐ.2) 3.5 รูปถ่ายต้นไม้ที่ขออนุญาต 2 ภาพ หมายเหตุ กรณีขอนำไม้ไปใช้ประโยชน์ราชการให้แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจน และกรณีนำไม้จำหน่ายหรือประมูลขายเรียบร้อยแล้ว ให้แจ้งส่งสำเนาใบนำส่งคลัง ให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ฯ ทราบ กรณี การขอตัด ฟัน ริดกิ่ง โค่น ต้นไม้ขนาดเล็ก หรือต้นไม้ที่อย่ในประเภทต้นไม้หวงห้าม ตามระเบียบกฎหมายของป่าไม้ หรือเพื่อเหตุกาณ์จำเป็นจริง ๆ โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน ให้ปฏิบัติได้ตามหนังสือ กรมธนารักษ์ ที่ กค.0407/2566 ลงวันที่ 25 เมษายน 2537 เรื่อง หารือเกี่ยวกับการตัดฟันต้นไม้ในที่ราชพัสดุ

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความร้ให้กับนักเรียน

สำนักงานคณะก
รรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับนักเรียน ด้วยงบเงินอุดหนุน โดยเบิกค่าใช้จ่ายให้คำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด ภายในวงเงินที่อย่ในความรับผิดชอบและต้องไม่เป็นเหตุในการเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองเพิ่มเติม 1. การวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ต้องให้ภาคี 4 ฝ่าย(ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้แทนกรรมการนักเรียน) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมและพิจารณา 2. การพิจารณาสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมร่วมทั้งการพักแรม ให้เลือกใช้บริการสถานที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นลำดับแรก กรณีจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในสถานที่ของเอกชนให้อย่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และวงเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบ สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม/การแข่งขัน แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 โรงเรียนเป็นหน่วยงานผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และตกแต่งสถานที่จัดกิจกรรม 2. ค่าวัสดุต่าง ๆ สำหรับการจัดกิจกรรม 3. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและส่งพิมพ์ 4. ค่าหนังสือสำหรับการจัดกิจกรรม 5. ค่าเช่าอุปกรณ์สำหรับการจัดกิจกรรม 6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดิ่ม ไม่เกินมื้อละ 50.- บาท ต่อคน 7. ค่าเข้าชมสถานที่แหล่งเรียนร้ 8. ค่าสาธารณูปโภค 9. ค่าสมนาคุณวิทยากร 9.1 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากร * กรณีเป็นการบรรยายให้ความร้กับนักเรียน ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ ไม่เกิน 1 คน * กรณีเป็นการแบ่งกล่มทำกิจกรรม ซึ่งได้กำหนดไว้ในโครงการหรือหลักสูตรการจัดกิจกรรมและจำเป็นต้องมีวิทยากรประจำกล่ม ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน * การนับชั่วโมงการบรรยาย หรือทำกิจกรรม ให้นับตามเวลาที่กำหนดในตาราง การจัดกิจกรรม โดยแต่ละชั่วโมงต้องกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าสิบนาที กรณีกำหนดเวลาไม่ถึง 50 นาที แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้กิ่งหนึ่ง 9.2 อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร * วิทยากรเป็นบุคลากรของรัฐ ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 600.- บาท * วิทยากรที่มิใช่บุคลากรของรัฐ ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 1,200.- บาท ทั้งนี้ ให้ใช้แบบใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร 10. ค่าอาหารสำหรับการจัดกิจกรรม มื้อละไม่เกิน 80.- บาท หรือกรณีจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในสถานที่ของเอกชน ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินมื้อละ 150.- บาท 11. กรณีไม่สามารถจัดอาหารให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกมื้อ หรือจัดอาหารให้เพียงบางมื้อ ให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ 11.1 สำหรับครูให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย 11.1.1 โดยคำนวณเวลาตั้งแต่เวลาที่เดินทางออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกตอ จนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการปกติ แล้วแต่กรณี(นับเวลา 24 ชั่วโมง =1 วัน ส่วนที่เกิน 24 ชั่วโมง หากนับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้นับเพิ่มอีก 1 วัน) 11.1.2 นำจำนวนวันทั้งหมด(ตามข้อ 11.1.1) คูณ กับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาะจ่ายตามสิทธิ์ 11.1.3 นับจำนวนมื้ออาหารที่จัดให้ตลอดการจัดกิจกรรม 11.1.4 คำนวณค่าอาหารทั้งหมด โดยให้คิดค่าอาหารมื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่ได้รับ 11.1.5 นำจำนวนเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่คำนวณได้ ตาม (ข้อ 11.1.2) หักด้วยจำนวนเงินค่าอาหารที่คำนวณได้ ตาม (ข้อ 11.1.4) ส่วนที่เหลือเป็นค่าเบี้ยเลี้ยที่จะได้รับ 11.2 สำหรับนักเรียนให้เบิกจ่ายเป็นค่าอาหารในลักษณะเหมาจ่าย ในอัตราดังนี้ * จัดอาหาร 2 มื้อ/ต่อวัน เบิกได้คนละไม่เกิน 80.- บาทต่อวัน * จัดอาหาร 1 มื้อ/ต่อวัน เบิกได้คนละไม่เกิน 160.- บาทต่อวัน * ไม่จัดอาหารทั้ง 3 มื้อ/ต่อวัน เบิกได้คนละไม่เกิน 240.- บาทต่อวัน โดยใช้แบบใบสำคัญรับเงินค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียน เป็นหลักฐานการจ่าย 12. ค่าใช่ที่พักตามที่หน่วยงานให้บริการที่พักเรียกเก็บ หรือกรณีจำเป็นต้องพักในสถานที่ของเอกชนให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด ดังนี้ * ค่าเช่าห้องพักคู่ ไม่เกินคนละ 600.- บาท ต่อวัน * ค่าเช่าห้องพักเดียว ไม่เกินคนละ 1,200.- บาท ต่อวัน 13. ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ - ส่ง ครู และนักเรียนไปร่วมกิจกรรม/ ขนส่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 14. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้บริการสุขาให้เบิกได้ตามอัตราที่หน่วยงานที่ให้บริการเรียกเก็บ 15. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้บริการพยาบาลให้เบิกได้ตามอัตราที่หน่วยงานที่ให้บริการเรียกเก็บ 16. ค่าใช้จ่ายในการจัดประกวด หรือแข่งขัน 16.1 ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน 16.1.1 กรรมการที่เป็นบุคลากรของรัฐ เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินคนละ 600.- บาท ต่อวัน 16.1.2 กรรมการที่มิได้เป้นบุคลากรของรัฐ เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินคนละ 1,200.- บาทต่อวัน 16.2 ค่าโล่ หรือถ้วยรางวัล หรือของรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการประกวดหรือแข่งขัน เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ชิ้นละไม่เกิน 1,500.- บาท 17. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นสำหรับการจัดกิจกรรม กรณีที่ 2 โรงเรียนพานักเรียนไปร่วมกิจกรรม / ร่วมการแข่งขัน กับโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้ดังนี้ 1. สำหรับครู 1.1 กรณีโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน มีการจัดอาหาร ที่พัก และพาหนะให้แล้ว ให้งดเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าว 1.2 กรณีโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน ไม่จัดอาหาร ที่พัก พาหนะทั้งหมดหรือจัดให้บางส่วน ให้เบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือส่วนที่ขาดสำหรับครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ยกเว้น * ค่าเช่าที่พักให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินคนละ 600.- บาท ต่อวัน สำหรับค่าเช่า-ห้องพักค่ และไม่เกินคนละ 1,200.- บาท ต่อวัน ค่าเช่าห้องพักเดี่ยว * ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้คำนวณเช่นเกียวกันกับกรณีที่ 1 ข้อ 11.1 2. สำหรับนักเรียน 2.1 กรณีโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน มีการจัดอาหาร ที่พัก และพาหนะให้แล้ว ให้งดเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าว 2.2 กรณีโรงเรียนอื่นหรือหน่วยงานอื่นซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม/การแข่งขัน ไม่จัดอาหาร ที่พัก พาหนนะทั้งหมดหรือจัดให้บางส่วน ให้เบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือส่วนที่ขาดให้กับนักเรียน ดังนี้ * ค่าอาหารในลักษณะเหมาะจ่าย ตามข้อ 11.2 (ส่วนของนักเรียน) * ค่าเช่าที่พักเหมาจ่าย ไม่เกินคนละ 500.- บาท ต่อวัน * ค่าพาหนะ ให้เบิกจ่ายได้ตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน(เทียบเท่าระดับ 1-4) * ใช้แบบใบสำคัญรับเงินค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียน(เอกสารแนบ2) เป็นหลักฐานการจ่าย 3. ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นสำหรับการพานักเรียนไปร่วมกิจกรรม/รวมการแข่งขัน ************************************ หมายเหตุ การพิจารณาเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้คำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด ภายในวงเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบ เท่านั้น และต้องไม่เป็นเหตุในการเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองเพิ่มเติมด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน

แนบหนังสือ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.3/ว390 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2552
ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ
             1. ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน                4,650.- บาท
             2. ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน       3,200.- บาท
             3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,900.- บาท
             4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)3,900.- บาท
                  หรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน
              5. ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน                      11,000.- บาท
เงินบำรุงการศึกษา หมายถึง เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ไดรับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กำกับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถินที่มีกฎหมายจัดตั้งหรือองค์การของรัฐบาล
โดยระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เงินบำรุงการศึกษาที่ให้เบิกจ่ายตามประเภทและอัตราข้างต้น ประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังต่อไปนี้
              1. ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้
              2. ห้องเรียนพิเศษ EP(English Program)
              3. ห้องเรียนพิเศษ MEP(Mini English Program)
              4. ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ
              5. ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ
              6. ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ
สำหรับระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า เงินบำรุงการศึกษา ที่ให้เบิกจ่ายจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ ทั้งนี้ไม่รวมค่าปรับต่าง ๆ ค่าลงทะเบียนล่าช้าการลงทะเบียนเรียนซ้ำเพื่อปรับผลการเรียน(รีเกรด) ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด และค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา

การขออนุญาตรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณารื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นราชพัสดุ
ต้องได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์(กรณีที่ราชพัสดุอยู่ในกรุงเทพมหานคร)  และผู้ว่าราชการจังหวัด(กรณีที่ราชพัสดุอยู่ในจังหวัดอื่น) ก่อนการรื้อถอน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ สามารถรื้อถอนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก
                  กรมธนารักษ์/ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เมื่อรื้อถอนแล้วต้องแจ้งให้กรมธนารักษ์/ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
                    1.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 25 ปี
                    2.อาคารหรือส่งปลูกสร้างที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้
                    3.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวกับราชการลับทางทหาร
                    4.อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเดิม เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ทดแทนตามที่ได้รับงบประมาณ
สำหรับวัสดุที่ได้จากการรื้อถอน ให้นำออกประมูลขายโดยอนุโลมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ.2535  แล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคลับงเป็นรายได้ของกรมธนารักษ์  หากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอย่างอื่น  ต้องขออนุญาตต่อกรมธนารักษ์ ก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นให้ทราบเพื่อประกอบการพิจารณา และต้องไม่นำวัสดุที่ได้จาก การรื้อถอนไปสมทบกับกับงบประมาณที่ได้รับเป็นค่าก่อสร้างอาคารใหม่ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณแล้ว
ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการ
แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน
                   ขั้นตอนที่ 1 การขออนุญาต
1. บันทึกขออนุญาตรื้อถอน โดยแนบราย่ละเอียดประกอบการพิจารณา ดังนี้
     1.1 เหตุผลประกอบการรื้อถอน รวมทั้งประวัติอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เช่น ก่อสร้างเมื่อใด,สภาพอาคารปัจจุบันเป็นอย่างไร วัสดุที่ได้ จากการรื้อถอนจะเอาไปใช้ประโยชน์ หรือประมูลขาย เป็นต้น
     1.2  ภาพถ่ายอาคาร/สิ่งปลูกสร้างที่ขอรื้อถอน
     1.3  แผนที่สังเขป
     1.4  แบบรายการ ส่ง-รับ ที่ราชพัสดุขึ้นทะเบียน (แบบ ทบ.9) ยกเลิก โดยเปลี่ยนไปใช้แบบสำรวจรายการอาคารสิ่งปลูกสร้าง
              ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ แบบ ทร.04 ในกรณีที่อาคารดังกล่าวยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และใช้แบบ ทร.01/2 ในกรณีที่อาคารดังกล่าว ขึ้นทะเบียนแล้ว โดยติดต่อขอสำเนาได้ที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่
      1.5 แบบรายการแจ้งขอรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ(แบบ ทบ.3)  ผู้ลงนามในแบบ ทบ.3 จะต้องเป็น
            ผู้อำนวยการกอง,ผู้อำนวยการสำนักหรือผู้รักษาการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้
      1.6  แต่งตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อตรวจนับวัสดุและควบคุมการรื้อถอน
2.  บันทึกส่งเรื่องเสนอความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ การรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
     1.พิจารณาให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ การรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
     2. ส่งกองกฏหมายและที่ดิน เพื่อขออนุมัติกรมฯ รื้อถอน
                       ขั้นตอนที่ 2 การรื้อถอน
1. เมื่อกรมธนารักษ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี อนุมัติการรื้อถอนแล้ว ให้โครงการฯ ดำเนินการรื้อถอน โดย
        1.1 ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตรวจนับและควบคุมการใช้วัสดุที่รื้อถอน
        1.2 ให้จัดทำบัญชีคุมยอดวัสดุที่รื้อถอนว่ามีจำนวนเท่าใดโดยแยกบัญชีวัสดุที่ใช้การได้ และใช้การไม่ได้ออกจากกัน
        1.3 วัสดุคงเหลือจากการใช้ประโยชน์ให้นำออกประมูลขายนำเงินส่งคลังเป็นรายได้กรมธนารักษ์
        1.4 ในรายงานบัญชีคุมยอดวัสดุ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ลงนามกำกับทุกแผ่น
        1.5 ให้จัดทำแบบรายการแจ้งการรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุ (แบบ ทบ.2)  ซึ่งเป็นเอกสารใช้ประกอบการขอจำหน่าย
               สิ่งปลูกสร้างออกจากทะเบียนอาคารราชพัสดุ(ต้องระบุวันที่รื้อถอนแล้วเสร็จด้วย)
2.  สรุปรายละเอียด พร้อมบันทึกคณะกรรมการตรวจนับวัสดุที่รื้อถอน เสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
        1. ร่างหนังสือถึง กรมธนารักษ์ หรือผู้ราชการจังหวัด แจ้งการรื้อถอน ขออนุญาตนำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ประโยชน์ แจ้งการประมูลขายวัสดุ แจ้งขึ้นทะเบียนอาคาร จำหน่ายออกจากทะเบียนราชพัสดุ(แล้วแต่กรณี) เสนอ เพื่อลงนาม
       2. ส่งเรื่องแจ้งสถานศึกษา เพื่อขึ้นทะเบียน จำหน่ายออกจากทะเบียนแล้วแต่กรณี

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545
2.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
3.กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2549

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แจ้งเพื่อทราบ

ด้วย ขณะนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้มาตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ แล้ว โดยตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนการออกตรวจสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  ในเรื่อง ค่าก่อสร้างที่เกิน 1,000,000.- บาท  หรืออาจจะเรียกดูอย่างอื่น ขอความร่วมมือช่วยตรวจสอบความเรียบร้อยเตรียมความพร้อมรับการตรวจ  หากโรงเรียนใดประสงค์จะให้งานบริหารการเงินและสินทรัพย์ ช่วยสอบทาน ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้งเพื่อที่จะจัดเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือดูแลต่อไป